วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงงาน


                                                     โครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี                                                                    เรื่อง  Amazing...Banana




จัดทำโดย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ห้อง 1

อาจารย์ที่ปรึกษา
1. อาจารย์ศิริรัตน์  ปานสุวรรณ
2. อาจารย์กรรภิรมย์       ชะเอม


โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
อำเภอเมืองตราด   จังหวัดตราด
ปีการศึกษา  2556
ชื่อโครงงาน                            เรื่อง Amazing....Banana
ชื่อผู้จัดทำโครงงาน                นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3 ห้อง 1
ระดับชั้น                                 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
อาจารย์ที่ปรึกษา                        1. นางศิริรัตน์  ปานสุวรรณ
                    2. นางกรรภิรมย์       ชะเอม
โรงเรียน                                 โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม
ปีการศึกษา                              2557

บทคัดย่อ
การทำโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยีในครั้งนี้ เป็นโครงงานประเภทบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้  โดยมีจุดมุ่งหมายของโครงงาน เพื่อนำความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การแปรรูปกล้วย ออกแบบ          โลโก้ผลิตภัณฑ์กล้วยรังนก และกล้วยฉาบ การคิดต้นทุน และราคาขาย และสำรวจความพึงพอใจเกี่ยวกับรสชาติอาหารที่แปรรูป แต่งกลอน รวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับกล้วย ศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้วย คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย ชื่อทางพฤษศาสตร์ของกล้วย โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เป็นผู้ทำโครงงาน ศึกษาหาความรู้ ทดลองปฏิบัติ ภายในจังหวัดตราด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาดำเนินการ 1 เดือน จึงได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า คือ กล้วยรังนก เพื่อนำเสนอในวันวิชาการ โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม ในรูปแบบสื่อเพื่อการศึกษา แผ่นพับ สไลด์นำเสนอ และป้ายนิเทศ


กิตติกรรมประกาศ
โครงงานเรื่อง Amazing....Banana การแปรรูปกล้วยน้ำว้าจะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คณะผู้จัดทำจึงขอขอบพระคุณ คุณครูศิริรัตน์ ปานสุวรรณ และคุณครูกรรภิรมย์  ชะเอม  ที่คอยให้คำปรึกษาและให้ความรู้ความเข้าใจใน สอนในสิ่งต่างๆ ที่คณะผู้จัดทำไม่ทราบ และที่สำคัญยังสอนวิธีการทำการผลิตภัณฑ์             แปรรูปกล้วย ในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้คณะผู้จัดทำจะต้องขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่ง คณะผู้จัดทำขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ด้วย



 คณะผู้จัดทำ















สารบัญ

บทคัดย่อ                                                                                                                                                                              
กิตติกรรมประกาศ                                                                                                                                                             
บทที่ 1                                                                                                                                                                                    5
                ที่มาและความสำคัญ                                                                                                                                           5
                วัตถุประสงค์                                                                                                                                                        5
                ขอบเขตของการศึกษาข้อมูล                                                                                                                             5
บทที่ 2                                                                                                                                                                                   6-7
                เอกสาร                                                                                                                                                                  6-7
บทที่ 3                                                                                                                                                                                    8-12
                วิธีดำเนินการ                                                                                                                                                       8-12
                โปรแกรมในการสร้างเว็บ
                ออกแบบโครงสร้างสร้างหน้าเว็บให้สวยงาม
                การหาข้อมูล
                การขอเนื้อที่ในการสร้างเว็บเพจ
บทที่ 4  ผลการดำเนินงาน                                                                                                                                                13
บทที่ 5    สรุปและอภิปรายผล                                                                                                                                           14

               





บทที่ 1
บทนำ
ที่มาและความสำคัญของโครงงาน
เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยเรากำลังตกอยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ ข้าวยากหมากแพง ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหานี้โดยการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อนำความรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน อาทิ การแปรรูปกล้วย ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์กล้วยรังนก และกล้วยฉาบ ฉาบ การคิดต้นทุน และราคาขาย รวบรวมคำกลอน รวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับกล้วย ศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้วย คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย ชื่อทางพฤษศาสตร์ของกล้วย ซึ่งได้แนวคิดเกี่ยวกับพืชหาได้ง่าย และที่มีในท้องถิ่น ราคาถูก เพื่อนำมาแปรรูป เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น นั่นก็คืออาหารจากกล้วย ทั้งกล้วยน้ำหว้า และกล้วยหอม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาการแปรรูปอาหารจากกล้วยที่มีในท้องถิ่น ด้วยเหตุจึงเกิดเป็นโครงงานเรื่อง “Amazing Banana” ในครั้งนี้ขึ้น โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 เป็นผู้ทำโครงงาน ศึกษาหาความรู้ ทดลองปฏิบัติ ภายในจังหวัดตราด ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 ใช้เวลาดำเนินการ 1 เดือน จึงได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า คือ กล้วยรังนก เพื่อนำเสนอในวันวิชาการ โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม ในรูปแบบสื่อเพื่อการศึกษา แผ่นพับ สไลด์นำเสนอ และป้ายนิเทศ

วัตถุประสงค์
1.             เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
2.             เพื่อศึกษาชื่อทางพฤษศาสตร์ของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.             เพื่อรวบรวมคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
4.             เพื่อรวบรวมคำกลอนเกี่ยวกับกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
5.             เพื่อศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ
6.             เพื่อแปรรูปอาหารประเภทกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
7.             เพื่อออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์จากกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
8.             เพื่อศึกษาฉาบ การคิดต้นทุน และราคาขาย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
2
ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1. กล้วยในจังหวัดตราด กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม
2. สถานที่ทำโครงงาน :  โรงเรียนตราดสรรเสริญวิทยาคม อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด























3
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
ชื่อพฤษศาสตร์    Musa L. ( กล้วยประเภทรับประทาน )
วงศ์                        MUSACEAE
ชื่อพื้นเมือง           อังกฤษเรียก บานาน่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียเรียก ปิซัง ( Pisang ) ฟิลิปปินส์เรียก
ซาจิง ( Saging ) พม่าเรียก เง็กเปาตี ( Nget pyo thee ) เขมรเรียก ซิกนัมวา ( Cheek nam'vaa )
แหล่งกำเนิดและการกระจาย           กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ 
                ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย 
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่    เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย 
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
4
 
สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง และกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ส่วนในอินเดียได้รู้จักกล้วยกันมานานกว่าสามพันปีมาแล้ว โดยมีข้อความปรากฏตอนหนึ่งในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า เมื่อนางเกาสุริยาได้ฟังว่า พระรามมิได้มีการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แล้ว พระนางถึงกับล้มราวกับต้นกล้วยถูกฟันด้วยคมมีด ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์
กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์
5
 


ลักษณะทางพฤษศาสตร์    ลักษณะ กล้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเทียมสูงประมาณ 2-9 เมตร มีลำต้นสั้นๆ อยู่ใต้ดิน (ที่เรียกว่า หัว ” ) พร้อมด้วยตาหลายตาเป็นตำแหน่งที่เกิดเหล้าที่เจริญเป็นหน่อ รากแผ่กระจายไปตามแนวราบ แต่ส่วนมากรากจะอยู่ที่ผิวดิน หน่อมีรูปทรงกระบอก ลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบที่ทับสลับกันจนแน่นกอดกันเป็นก้อนกลมผลดิบ รสฝาด ทั้งเปลือก หั้นตากแดด บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือ ปั้นเมล็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ผลกล้วยดิบทั้งเปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ
ผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
เปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก
หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิตผลดิบ รสฝาด ทั้งเปลือก หั้นตากแดด บดเป็นผง ชงน้ำร้อน หรือ ปั้นเมล็ดรับประทาน รักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสียเรื้อรัง ผลกล้วยดิบทั้งเปลือก ใช้โรยรักษาแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหาร
เปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก
หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิตผลสุก รสหวาน ระบายอุจจาระ บำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย รักษาแผลในกระเพาะอาหารเปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตก
หัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิตเปลือกลูกดิบ รสฝาด สมานแผล เปลือกกล้วยหอมสุกเอาด้านในทาแก้ส้นเท้าแตกหัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิตหัวปลี รสฝาด แก้โรคเกี่ยวกับกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเส้นเลือด รักษาโรคเบาหวาน
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต
น้ำคั้นจากหัวปลี รับประทานแก้ถ่ายเป็นมูกเลือด บำรุงโลหิต

ใบ ใบ หรือ ใบตองกล้วยมีขนาดใหญ่ ลักษณะใบเป็นแผ่นยาวประมาณ 1.50 เมตร กว้างประมาณ 40.60 ซม. ทรงตัวอยู่ได้ด้วยเส้นกลางใบที่แน่นแข็ง ใบมีการจัดเรียงแบบขนนก มีเส้นใบขนานกัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อห้อยลงมา มีกาบหุ้มมีสีแดงอมม่วง เรียกว่า หัวปลี รูปร่างกลมรี มีดอกย่อยติดกันเป็นแผง ดอกตัวเมียจะอยู่ที่ฐาน ส่วนดอกตัวผู้จะอยู่ช่วงปลาย
ผล หลังจากดอกตัวเมียเริ่มเจริญเป็นผล ดอกตัวผู้ก็จะร่วงไป ช่อดอกจะเจริญต่อไปเป็นเครือกล้วยที่ประกอบด้วยหวีกล้วยประมาณ 7-8 หวี ผลกล้วยอ่อนมีสีเขียวพอแก่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง
การใช้ประโยชน์   ทางอาหาร ทุกส่วนของกล้วยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะผลสามารถใช้ประโยชน์ทางอาหารได้สูงสุด รับประทานได้ทั้งผลดิบและสุก กล้วยสุกนำไปเผาทั้งเปลือก ขูดเอาแต่เนื้อไปบดกับข้าว เป็นอาหารชนิดแรกของคนไทยนอกจากนมแม่ กล้วยดิบสามารถนำไปแปรรูปเป็น แป้งกล้วย ไว้ผสมกับอาหารอื่นๆ หรือไปทำเป็นกล้วยฉาบ กล้วยกวน กล้วยตาก ข้าวเกรียบกล้วย ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน นอกจากผลแล้ว ปลีกล้วย ใช้เป็นผักเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของแกงเลียง อาหารเพิ่มน้ำนมให้แก่แม่ที่เพิ่งคลอดบุตร กาบใน (ไส้) ใช้ทำอาหาร เช่น แกง
สรรพคุณทางยา  ยาง สมานแผลห้ามเลือด
6
 
ใบ รสเย็นจืด ต้มดื่ม แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
หยวก รสฝาดเย็น เผาไฟรับประทาน ขับพยาธิ
เหง้า รสฝาดเย็น ปรุงยาแก้ริดสีดวงทวาร ชนิดมีเลือดออก หรือแผลภายในช่องทวาร


กล้วยน้ำหว้า
ชื่อสามัญ                 Pisang Awak
ชื่อพ้อง                    กล้วยน้ำหว้าเหลือง กล้วยใต้ กล้วยอ่อง
ชื่อวิทยาศาสตร์       Musa (ABB group) "Kluai Nam Wa"
แหล่งที่พบ              พบได้ทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นสูงไม่เกิน 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 15 เซนติเมตร กาบลำต้นด้านนอกมีสีเขียวอ่อน มีประดำบ้างเล็กน้อย
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างแคบ เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างป่อม ปลายป้าน ด้านนอกสีแดงอมม่วงมีนวลหนา ด้านในมีสีแดงเข้ม
ผล เครือหนึ่งมีประมาณ 7 - 10 หวี หวีหนึ่ง มี 10 - 16 ผล ก้านผลยาว เปลือกหนา สุกมีสีเหลืองเนื้อสีขาว รสหวาน ไส้กลางมีสีเหลือง ชมพูหรือขาว ทำให้แบ่งออกเป็นกล้วยน้ำว้าเหลือง กล้วยน้ำหว้าแดง และกล้วยน้ำหว้าขาว
การใช้ประโยชน์     ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด



7
กล้วยหอม
อาณาจักร:            Plantae
อันดับ:                  Zingiberales
วงศ์:                      Musaceae
สกุล:                      Musa
ชนิด:                     Musa (AAA group) "Kluai Hom thong"
แหล่งที่พบ:          พบได้ทุกภาคของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
ต้น ลำต้นเทียมสูง 2.5-3.5 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร ตามลำต้นด้านนอกมี ประดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อน และมีเส้นลายสีชมพู
ใบ ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และมีปีก เส้นกลางใบสีเขียว
ดอก ก้านช่อดอกมีขนใบประดับรูปไข่ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด
ผล เครือหนึ่งมี 4-6 หวี หวีละ 12-16 ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน
การใช้ประโยชน์   ผลใช้แปรรูป และรับประทานสด











8
กลอนกล้วยจ๋า     เรื่องกล้วย กล้วย
                                อยู่คนเดียว ทำอาหาร...เวลามี
                หยิบน้ำตาลสตรอเบอรี่สีสวยใส
                มาผสมน้ำเปล่าเข้าเตาไฟ
                เดือดแล้วใส่กล้วยน้ำว้าผ่าหกตอน
                                กวนจนน้ำตาลสีชมพูพรูเข้าเนื้อ
                กล้วยเชื่อมสวยเหลือเชื่อนำมาสอน
                กินไม่ทันอย่าทิ้ง...เชื่อมนะอร
                เก็บตู้เย็นเถิดงามงอนขนมไทย                       
                                กล้วยมีมากหากเหลือเชื่อฉันเถิด
                กวนก็ได้อร่อยเลิศเกินขานไข
                ยีให้น่วมลงกระทะกวนเรื่อยไป
                น้ำตาลทรายหกช้อนใส่เป็นกล้วยกวน
                                อยู่คนเดียวเวลาเหลือไม่เบื่อเลย
                ดีกว่านั่งเฉยเฉยละห้อยหวน
                กล้วยน้ำว้าสดกินดีที่ทบทวน
                เหลือแล้วควรกวนเชื่อมหวานกินนานเทอญ

ประโยชน์กล้วยแต่ลำต้นจนถึงปลี
กล้วยดิบมีคุณแจ้งทำแกงคั่ว
กาบกล้วยทำเชือกใช้อยู่ใกล้ตัว
ต้นสับรัวต้มเลี้ยงหมูแต่บุราณ
ใบกล้วยใช้ห่อ รม ทั้งต้ม ปิ้ง
ผลกล้วยยิ่งคุณค่ามหาศาล
ต่างข้าว ยา ขนม มานมนาน
ปลีแนม ยำ มากขนานเกินขานจำ
9
คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย
การใช้ประโยชน์ในการบริโภค 
          กล้วยเป็นผลไม้ที่มีเปลือกหุ้มเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ แต่วิธีการปอกเปลือกกล้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพียงใช้มือเด็ดปลายหรือจุก ก็สามารถปอกเปลือกได้ด้วยมือและรับประทานได้ทันที จึงเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย ดังคำโบราณว่า ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก นอกจากปอกเปลือกง่ายแล้ว กล้วยสุกเมื่อรับประทานแล้ว ก็จะลื่นลงกระเพาะได้ง่าย และย่อยง่าย ด้วยเหตุที่กล้วยลื่นลงกระเพาะได้ง่าย ทำให้บางคนไม่ค่อยเคี้ยวกล้วยซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด การรับประทานกล้วยจำเป็นต้องเคี้ยวให้ละเอียด เพราะกล้วยมีแป้งร้อยละ  ๒๐ - ๒๕  ของเนื้อกล้วย  ถ้าเคี้ยวไม่ละเอียด น้ำย่อยในกระเพาะต้องทำงานหนัก  หากย่อยไม่ทันกล้วยจะอืดในกระเพาะ  อย่างไรก็ตามกระเพาะของคนใช้เวลาในการย่อยกล้วยสั้นกว่าการย่อยส้ม นม กะหล่ำปลี  หรือแอปเปิล  ดังนั้นคนไทยจึงนิยมใช้กล้วยที่ขูดเอาแต่เนื้อ ไม่เอาไส้ บดละเอียดให้ทารกรับประทาน นอกจากทารกแล้ว  คนชราก็รับประทานกล้วยได้ดีเช่นกัน ในกรณีคนหนุ่มสาว กล้วยเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วน เนื่องจากกล้วยมีคุณค่าทางอาหารสูงพอๆ กับมันฝรั่ง แต่มีปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอล และเกลือแร่ต่ำ กล้วยมีโซเดียมเพียงเล็กน้อยแต่มีโพแทสเซียมสูง การมีโพแทสเซียมสูงนี้จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ในประเทศอินเดียมีความเชื่อว่า หากรับประทานกล้วย  ผลต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึงร้อยละ ๑๐ ภายในระยะเวลา ๑ สัปดาห์
         กล้วยยังเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และท้องเสียบ่อย เพราะสามารถช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ กล้วยเมื่อยังดิบจะมีแป้งมาก  แต่เมื่อสุกแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ดังนั้นหากท้องเดิน การกินกล้วยดิบจะช่วยทำให้อาการท้องเดินหยุดได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ให้กินกล้วยที่สุกแล้ว สำหรับกล้วยที่ทำให้สุกด้วยความร้อน วิตามินจะลดลง
การใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร
มีผลกล้วยหลายชนิด/พันธุ์ที่มีการนำ ไปใช้ประโยชน์ทางด้านอาหาร ดังนี้
1) กล้วยหอม นิยมบริโภคสด
2) กล้วยนํ้าว้า มีการใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ตั้งแต่ผลกล้วยดิบที่แก่จัดก็ใช้ประโยชน์เป็นกล้วยฉาบชนิดแว่น/ชนิดแผ่นและแป้งกล้วย ผลกล้วยห่ามแต่ยังไม่สุกก็เป็นกล้วยปิ้ง และกล้วยทอด ผลกล้วย-สุก-สุกมาก ก็ใช้บริโภคสดแปรรูปเป็นกล้วยบดเพื่อเป็นอาหารเด็ก เป็นส่วนผสมของขนม เช่น ขนมกล้วย กล้วยแผ่น และทองม้วนกล้วย กล้วยตาก/อบชนิดผลหรือแผ่นผลกล้วยที่งอมก็ใช้ทำ เป็นกล้วยกวน
3) กล้วยไข่ นิยมบริโภคสดและกล้วยไข่ที่ห่ามเกือบสุกจะนิยมทำ กล้วยเชื่อมทั้งเปียกและแห้ง เพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออก กล้วยไข่ที่สุกก็ทำ ข้าวเม่าทอด
4)           
10
 
กล้วยหักมุก กล้วยหักมุกมี 2 ชนิด คือ หักมุกเขียวใช้ทำ กล้วยฉาบชนิดแว่นหรือแผ่นมี ลักษณะปรากฏที่ดีทอดแล้วเนื้อมีสีเหลืองและกรอบ กล้วยชิ้นทอด (French Fry Type) ส่วนกล้วยหักมุกขาวหรือเหลืองจะนิยมทำ กล้วยปิ้ง/เผา
5)            กล้วยเล็บมือนาง นิยมบริโภคสดและมีบ้างใช้ทำ กล้วยตาก/อบ
6)            กล้วยหินมีลักษณะคล้ายกล้วยหักมุกเขียว ลูกป้อมสั้นและเนื้อแน่น นิยมใช้ทำ กล้วยฉาบ

คุณค่าทางอาหารของผลกล้วยสุก หนัก ๑๐๐ กรัม
น้ำ
๗๕.๗
กรัม
พลังงาน
๘๕
แคลอรี
โปรตีน
๑.๑
กรัม
ไขมัน
๐.๒
กรัม
คาร์โบไฮเดรต
๒๒.๒
กรัม
เถ้า
๐.๘
กรัม
แคลเซียม
๘.๐
มิลลิกรัม
เหล็ก
๐.๗
มิลลิกรัม
โพแทสเซียม
๓๗๐
มิลลิกรัม
แมกนีเซียม
๓๓
มิลลิกรัม
วิตามินเอ
๑๙๐
IU
ไทอะมีน (Thaiamine)
๐.๐๕
มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
๐.๐๖
มิลลิกรัม
ไนอะซิน (Niacin)
๐.๗
มิลลิกรัม
วิตามินซี
๑๐.๐
มิลลิกรัม

11
 

การใช้ประโยชน์ในพิธีกรรมต่างๆ และในชีวิตประจำ 
          ในพิธีทางศาสนา เช่น การเทศน์มหาชาติ และการทอดกฐิน มักใช้ต้นกล้วยประดับธรรมาสน์ และองค์กฐิน
          ในพิธีตั้งขันข้าว  หรือค่าบูชาครูหมอตำแย  สำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และไปขอให้หมอตำแยทำคลอดให้ จะต้องใช้กล้วย    หวี พร้อมทั้งข้าวสาร หมากพลู  ธูปเทียนสำหรับการทำพิธีบูชาครูก่อนคลอด และเมื่อคลอดแล้วจะต้องอยู่ไฟ ก็ยังใช้ต้นกล้วยทำเป็นท่อนล้อมเตาไฟ ป้องกันการลามของไฟ
          ในพิธีทำขวัญเด็ก  เมื่อเด็กอายุได้ ๑  เดือน กับ ๑ วัน มีการทำขวัญเด็กและโกนผมไฟ จะมีกล้วย ๑ หวี เป็นส่วนประกอบในพิธีด้วย
          ในพิธีแต่งงาน  มักมีต้นกล้วยและต้นอ้อยในขบวนขันหมาก  พร้อมทั้งมีขนมกล้วย และกล้วยทั้งหวี เป็นการเซ่นไหว้เทวดาและบรรพบุรุษ
          ในการปลูกบ้าน  เมื่อมีพิธีทำขวัญยกเสาเอก จะใช้หน่อกล้วยผูกมัดไว้ที่ปลายเสาร่วมกับต้นอ้อย และเมื่อเสร็จพิธีก็จะมีการลาต้นกล้วยและต้นอ้อยนั้น นำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้าน จากนั้นประมาณ ๑ ปี หรือเมื่อปลูกบ้านเสร็จแล้วพร้อมอยู่อาศัย ก็มีกล้วยไว้กินพอดี
          ในงานศพ ในสมัยโบราณ มีการนำใบตองมารองศพ ก่อนนำศพวางลงในโลง
             นอกจากนี้ใบตองยังมีบทบาทสำคัญมากในพิธีกรรมต่างๆ โดยการนำมาทำกระทงใส่ของ ใส่ดอกไม้ และประดิษฐ์เป็นกระทงบายศรี

          ในชีวิตประจำวัน ใช้ใบตองในการห่อผักสดและอาหาร เนื่องจากใบตองสดมีความชื้น  ดังนั้นเมื่อใช้ห่อผักสดหรืออาหาร ความชื้นจะช่วยรักษาผักหรืออาหารให้สดอยู่เสมอ นอกจากนี้ใบตองยังทนทานต่อความเย็นและความร้อน ดังนั้นเมื่อนำใบตองห่ออาหารแล้วเอาไปปิ้ง นึ่ง ต้ม ใบตองก็จะไม่สลายหรือละลายเหมือนเช่นพลาสติก จึงมีอาหารหลายอย่างที่ห่อใบตองแล้วนำไปนึ่ง เช่น ห่อหมก ข้าวต้มผัด  ขนมกล้วย  ขนมตาล  ขนม
12
 
ใส่ไส้  หรือเอาไปปิ้ง เช่น ข้าวเหนียวปิ้ง หรือนำไปต้ม  เช่น  ข้าวต้มมัด หรือข้าวต้มจิ้ม อาหารเหล่านี้เมื่อนำไปต้ม ปิ้ง หรือนึ่งแล้ว ยังทำให้เกิดความหอมของใบตองอีกด้วย สำหรับใบตองแห้งนำมาใช้ทำกระทงเพื่อใส่อาหาร ห่อกะละแม มวนบุหรี่ โดยใบตองแห้งก็จะมีกลิ่นหอมเช่นกัน ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มีการทดลองนำเอาใบตองแห้งมาอัดกันแน่นหลายๆ ชั้น ทำเป็นภาชนะใส่ของแทนการใช้โฟมได้อีกด้วย
             ใบตองแห้งยังนำไปใช้ในงานศิลปกรรมไทยได้อีกหลายอย่าง  เช่น นำไปทำรักสมุก  ในงานของช่างเขียน  ช่างปั้น  ช่างแกะ  และช่างหุ่น เพราะรักสมุกใบตองแห้ง ช่วยในการเคลือบและปกป้องเนื้อไม้ ขัดแต่งง่าย เมื่อแห้งผิวเป็นมัน น้ำหนักเบา เหมาะในการทำหัวโขน และการลงรักปิดทอง
             ในสมัยโบราณ เมื่อยังใช้เตารีดที่เป็นเตาถ่าน หากเตาร้อนมากไปก็เอามารีดบนใบตองสด ก่อนนำไปรีดบนผ้า เพราะใบตองมีสารจำพวกขี้ผึ้งหุ้มอยู่ ขี้ผึ้งจะช่วยเคลือบเตารีด ทำให้รีดผ้าไม่ติด

          กาบกล้วย
 ใช้ในศิลปะการแทงหยวกไว้ที่เชิงตะกอนเวลาเผาศพ ส่วนใหญ่ใช้กาบกล้วยตานี เพราะกาบกล้วยตานี ขาวสะอาด ทำให้หยวกที่แทงมีลวดลายสวยงาม งานแทงหยวกเป็นงานที่ต้องทำหลายคนแล้วเอามาประกอบกัน โดยช่างผู้ทำต้องสลักเป็นลายไทยต่างๆ เช่น กระจังตาอ้อย  กระหนกเปลว  ครีบสิงห์  แข้งสิงห์  รักร้อย และเครือเถา  นอกจากนี้กาบกล้วยยังนำมาฉีกเป็นเส้นใหญ่ๆ ใช้มัดผักเป็นกำๆ เช่น  ชะอม  ตำลึง เพื่อให้ความชื้นกับผัก  เพราะกาบกล้วยมีน้ำอยู่มาก ถ้าฉีกเป็นเส้นเล็กๆ ก็ใช้มัดของแทนเชือกได้ กาบกล้วยเมื่อแห้งอาจนำมาทำเป็นเชือกกล้วย  สำหรับผูกของและสานทำเป็นภาชนะรองของ หรือสานเป็นกระเป๋าสุภาพสตรี นอกจากนี้ใยของกาบกล้วยยังนำมาใช้ทอผ้าได้ด้วยเช่นกัน
          ต้นกล้วย ที่หั่นเป็นท่อนๆ  อาจใช้เป็นทุ่นลอยน้ำให้เด็กๆ ใช้หัดว่ายน้ำ หรือนำมาทำเป็นแพสำหรับตั้งสิ่งของให้ลอยอยู่ในน้ำ
          ก้านกล้วย  เมื่อเอาแผ่นใบออกแกนกลางหรือเส้นกลางใบ อาจนำมาใช้มัดของ หรือนำมาทำของเล่นเด็กๆ ได้ เช่น ทำเป็นม้าก้านกล้วย และปืนก้านกล้วย ซึ่งเป็นของเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน 





13
การแปรรูปจากกล้วยดิบ 
          ๑.  การทำกล้วยอบเนย  กล้วยฉาบ หรือ กล้วยกรอบแก้ว ใช้กล้วยดิบ  เช่น กล้วยน้ำว้า  กล้วยหอม  กล้วยหักมุก  นำ มาฝานบางๆ ตามยาว  หรือตามขวาง อาจจะผึ่งลมสักครู่  หรือฝานลงกระทะทันทีก็ได้และทอดในกระทะที่ใส่น้ำมันท่วม เมื่อชิ้นกล้วยสุกจะลอย  ก็ตักขึ้นและซับน้ำมันด้วยกระดาษฟาง จากนั้นอาจนำไปคลุกเนย  เรียกว่า  กล้วยอบนย หรือฉาบให้หวานด้วยการนำไปคลุกกับน้ำตาลที่เคี่ยวจนเกือบแห้งในกระทะ เรียกว่า กล้วยฉาบ หรือนำไปคลุกในน้ำเชื่อม แล้วเอาลงทอดอีกครั้งอย่างรวดเร็ว เรียกว่า กล้วยกรอบแก้ว
          ๒.  แป้งกล้วย นำกล้วยดิบมานึ่งให้สุก ปอกเปลือก หั่น และอบให้แห้งแล้วบดให้ละเอียดเป็นแป้ง ใช้ทำขนมกล้วยและบัวลอย หรือผสมกับแป้งเค้กใช้ทำคุกกี้ได้ ทำให้มีกลิ่นหอมของกล้วย
การแปรรูปจากกล้วยสุก 
          ๑.  น้ำผลไม้ นำเนื้อกล้วยที่สุกมาหมักใส่เอนไซม์เพกทิโนไลติก (pectinolytic) ความเข้มข้น ๐.๐๑ % เพื่อย่อย และบ่มไว้ที่อุณหภูมิ ๔๕ องศาเซลเซียส  นาน    ชั่วโมง จะได้น้ำกล้วยที่ใส
          ๒. เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์  ประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ยูกันดา รวันดา บุรุนดี  คองโก และแทนซาเนีย นิยมนำกล้วยมาทำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ต่ำ ในประเทศยูกันด เรียกเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า  วารากิ (Waragi)  ประเทศฝรั่งเศสนำเนื้อกล้วยสุกบดเหลวผสมกับน้ำ และทำให้ร้อน ๖๕ - ๗๐ องศาเซลเซียส นาน ๑ ชั่วโมง แล้วทำให้เย็นลงที่อุณหภูมิ ๔๐ องศาเซลเซียส  ต่อมาใส่เอนไซม์เพกทิเนส (pectinase) ทิ้งไว้นาน ๒๔ ชั่วโมง ภายใต้บรรยากาศที่เพิ่มคาร์บอนไดออกไซด์  นำส่วนที่เป็นกากมาบด แล้วนำส่วนที่เป็นน้ำมาหมักด้วยเชื้อ Saccharomyces  cerevisiae  ที่อุณหภูมิ ๒๕ องศาเซลเซียส     ภายใต้บรรยากาศที่มีคาร์บอนไดออกไซด์ หรือไนโตรเจน จะได้สุราผลไม้ที่ทำจากกล้วย
          ๓.  กล้วยตาก (banana figs) นำกล้วยที่สุกงอมมาปอกเปลือก และนำไปตากแดด ๑ - ๒  แดด จากนั้นมาคลึงเพื่อให้กล้วยนุ่ม แล้วนำไปตากอีก ๕ - ๖  แดด หรือจนกว่ากล้วยจะแห้งตามต้องการ (ในทุกๆ วันที่เก็บให้นำกล้วยทั้งหมดมารวมกัน  น้ำหวานจากกล้วยจะออกมาทุกวัน และกล้วยจะฉ่ำ แล้วนำไปตากแดด)  ระวังอย่าให้แมลงวันตอม  ส่วนการตากอาจใช้แสงอาทิตย์  หรือเตาอบขนาดใหญ่ที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์หรือไฟฟ้า
          ๔. กล้วยกวน นำกล้วยสุกงอมมายี แล้วเคล้ากับน้ำตาลและกะทิ นำไปกวนในกระทะที่ไม่เป็นสนิม กวนที่ไฟอ่อนๆ จน  สุกเหนียว ปั้นเป็นก้อนกลม หรือสี่เหลี่ยมแล้วห่อด้วยกระดาษแก้ว
          ๕.  ทอฟฟี่กล้วย คล้ายกล้วยกวน แต่ใส่แบะแซ จึงทำให้แข็งกว่ากล้วยกวน
          ๖.  ข้าวเกรียบกล้วย ใช้กล้วยสุกผสมกับแป้งและเกลือ อาจเติมน้ำตาลเล็กน้อยนวดแล้วทำเป็นแท่งยาวๆ นึ่งให้สุก  เมื่อสุก ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น ฝานเป็นชิ้นบางๆ ตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาทอดรับประทานเป็นอาหารว่าง ข้าวเกรียบกล้วยนี้หากใช้กล้วยที่มีกลิ่นจะทำให้หอม

14
         กล้วยนอกจากนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ  ที่ได้กล่าวมาแล้ว  คนไทยยังนำผล  ปลี  และหยวกกล้วยมาทำอาหารทั้งคาวและหวานอีกด้วย เช่น กล้วยเชื่อม  ขนม กล้วย  ข้าวต้มผัด  แกงเลียงหัวปลี  ยำหัวปลี  ทอดมันหัวปลี  และแกงหยวกกล้วย กล้วยจึงเป็นพืชที่คนไทยคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากทุกส่วนของกล้วยได้นานัปการ 

การแปรรูปกล้วย
เทคโนโลยีการแปรรูปกล้วยทั้งด้านอาหาร/ไม่ใช่อาหาร อาจสรุปได้ ดังนี้
1. การอบ/ตาก เป็นการใช้เทคโนโลยีการตากแห้ง/อบแห้ง อุณหภูมิที่ใช้ไม่เกิน 70 ํ เป็นการระเหยนํ้าออกนํ้าตาลในกล้วยจะเพิ่มขึ้น มีการบ่มในขั้นตอนสุดท้ายก่อนนำ สู่ตลาด
2. การทอด เป็นการใช้เทคโนโลยีการระเหยนํ้าออก โดยการทอดในน้ำมันที่ร้อนอุณหภูมิที่ใี่ช้ 160-180 ํ หากเป็นกล้วยดิบมีส่วนประกอบเป็นแป้ง การทอดทำ ให้แห้งและกรอบ เช่น กล้วยฉาบ หากเป็นชิ้นหนา จะกรอบนอกนุ่มใน เช่น กล้วยทอด
3. การปิ้ง เป็นการใช้ความร้อนตํ่าโดยตรงในการปิ้ง ให้แป้งกล้วยสุกและร้อนระอุ ภายในผิวนอกจะแห้ง แข็ง และเนื้อในนุ่ม อุณหภูมิความร้อนที่ใช้ปิ้งจะสูงเกิน 100 
4. การต้ม/นึ่ง กล้วยที่ห่ามจะนำ ไปต้มในนํ้าร้อน/นํ้าเดือด หรือนึ่งด้วยไอนํ้าจนสุก และ ลอกเปลือกออกได้ง่าย หากต้ม/นึ่งจนสุกจะใช้ทำกล้วยต้มผสมมะพร้าวคลุกนํ้าตาล
5. การแปรรูปเชือกกล้วย จะใช้มือ/เครื่อง ฉีด/ดึง กาบกล้วยออกเป็นเส้นๆ ตามยาวรมด้วยกำมะถันแล้วตาก/อบจนแห้งสนิท
6. การทำ กระทงใบตอง จะเลือกใช้ใบกล้วยที่อ่อน-แก่ปานกลาง ที่มีสภาพสมบูรณ์มาทำความสะอาด อาจอบ/นึ่ง/จุ่มในนํ้าร้อน ให้เส้นใยอ่อนตัว แล้วพับเป็นกระทง อาจ รมกำมะถันแล้วตากให้แห้งสนิท
วิธีทำกล้วยฉาบ
วิธีทำ 
1)            เลือกกล้วยที่แก่จัด  ตัดจากต้น  ถ้าซื้อต้องไม่ผ่านการบ่มแก๊ส  
2)            เตรียมน้ำใส่กะละมังใหญ่  ใส่เกลือกันกล้วยดำ  ใส่มะนาวหรือมะกรูดอันนี้กันมือเราดำ
3)            ปอกกล้วยแช่น้ำ ยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำแล้ว
4)            ตั้งกะทะน้ำมันไฟกลาง  ให้ร้อน
5)           
15
 
ใช้ที่ปอกแตง ทำอย่างรวดเร็ว ให้กล้วยเต็มกะทะพอดี  ถ้าช้ากล้วยจะสุกไม่เสมอ   ถ้าน้ำมันไม่เดือดกล้วยจะอมน้ำมัน  ถ้าใส่กล้วยมากจนคับกะทะ กล้วยจะติดกันคนยาก(ในรูปเป็นกล้วยหอม  กล้วยหอมทำตามขวาง  น้ำว้าทำตามยาว)
6)            เตรียมตักขึ้น  สะเด็ดน้ำมัน
7)            พักในหม้อให้เย็น  ตอนนี้จะกรอบ  ข้อระวัง  ถ้ายังไม่ฉาบทันที  ต้องเอาใส่ ถุงร้อน  2 ชั้น  มัดยางให้แน่นทั้ง 2 ชั้น
8)             ขั้นฉาบ  ใส่น้ำ  น้ำตาลทราย(ดูปริมาณกล้วย)+เนยเค็ม(เต็มช้อนซ่อม)+เกลือ(ครึ่งช้อนชา)  ตั้งให้เดือด  คนได้ที่เป็นน้ำเชื่อม    ก็ใส่กล้วย  คลุกเบาๆ  ให้เข้ากัน
9)            ตักขึ้น  กระจายในถาด
10)     ตั้งกะทะไฟกลาง(อีกรอบ)  ใส่น้ำมัน(ใหม่)   แล้วเอากล้วยที่ฉาบน้ำตาลแล้ว  ลงไปทอด(ทดลองก่อน1ชิ้น  ถ้าทิ้งลงไปแล้วน้ำมันฟู  ใช้ได้  ถ้าทิ้งไปแล้วนิ่ง  จมดิ่งลงก้นกะทะ  ใช้ไม่ได้ สงสัยแก๊สหมด55)ใส่ใบเตยหอมลงในน้ำมันทุกครั้ง
11)     ตักขึ้น  ให้สะเด็ดน้ำมัน (สังเกตสีวาวๆ) 

วิธีการคิดต้นทุน ราคาขาย กำไร ขาดทุน
     1)  การค้าขาย หรือ การค้า (อังกฤษ: trade) หมายถึง การตกลงแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ หรือทั้งสองอย่าง การค้าขายสามารถเรียกได้อีกชื่อหนึ่งคือ การค้าขายเชิงพาณิชย์ (commerce) กลไกหรือสถานที่ที่สามารถมีการค้าขายเรียกว่าตลาด รูปแบบเริ่มต้นของการค้าขายคือ การยื่นหมู ยื่นแมว ซึ่งหมายถึงการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการโดยตรงระหว่างผู้ค้า ปัจจุบันนี้ โดยทั่วไปผู้ค้าสมัยใหม่ใช้การเจรจาต่อรองด้วยสิ่งแลกเปลี่ยน ซึ่งนั่นก็คือเงินตรา
   
2)  กำไร  หมายถึง  ผลที่ได้เหนือต้นทุน
    3)  ขาดทุน หมายถึง การขายสินค้าได้ เงินน้อย
กว่าต้นทุน
    4)  ต้นทุนหมายถึงหมายถึงค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปเพื่อให้ได้สินค้า หรือผลของกิจกรต้นทุนทางธุรกิจต้นทุนคงที่ ต้นทุนในการดำเนินงาน ต้นทุนในการผลิต ค่าใช้จ่ายในการจัดจำหน่าย ต้นทุนทางสังคม ต้นทุนผันแปร ต้นทุนต่อหน่วย ประมาณการต้นทุน ต้นทุนหน่วยท้ายสุด ต้นทุนแรงงาน ค่าเสียโอกาส ต้นทุนรวม การวิเคราะห์ต้นทุน ค่าใช้จ่าย ราคา ความสามารถในการทำกำไร การบัญชี ต้นทุนที่แท้จริง ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ราคาเงา
   5)  บัญชีรายรับ-รายจ่าย หมายถึง แบบบันทึกรายการรับเงินหรือจ่ายเงิน ที่เกิดขึ้นจริง โดยมีส่วนประกอบที่สำคัญคือ
·      
16
 
ชื่อบัญชีรายรับ-รายจ่าย
·       วัน เดือน ปี ที่เกิดรายรับ-รายจ่าย
·       รายการรับเงินหรือจ่ายเงิน
·       จำนวนเงินที่รับหรือจ่ายจริง
·       ยอดรวมรายรับและรายจ่ายทั้งหมด
·       ยอดเงินคงเหลือเมื่อรายรับสูงกว่ารายจ่าย



























บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
วัสดุ/อุปกรณ์
1. กล้วยหอมดิบ                 
2. น้ำตาลทราย                    
3. เนย                         
4. เกลือ                   
5. น้ำมันพืช
6. ปูน                                    
7. น้ำ                                     
8. ที่สไลด์กล้วย        
9 .มีด                   
10. จาน                
11. อ่าง/ถาด                        
12. กะทะ                             
13. ตะหลิว                
14. ถุงบรรจุ         
ขั้นเตรียมการ
นักเรียนประชุมปรึกษาหารือเพื่อเลือกหัวข้อโครงงาน และเสนอโครงร่างโครงงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาโครงงาน
ดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ในโครงร่างโครงงาน ดังนี้
1)            ศึกษาประวัติความเป็นมาของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
2)            ศึกษาชื่อทางพฤษศาสตร์ของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3)            รวบรวมคำศัพท์ภาษาต่างประเทศเกี่ยวกับกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
4)            รวบรวมคำกลอนเกี่ยวกับกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
5)            ศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ
6)           
18
 
แปรรูปอาหารประเภทกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
7)            ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์จากกล้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
8)            ศึกษาการคิดต้นทุน และราคาขาย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์





















บทที่ 4
ผลการศึกษา
 จากการศึกษาทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ พบว่ากล้วยหอมและกล้วยน้ำหว้า มีรสชาติดี กล้วยไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อนำมาฉาบหรือคลุกเคล้าเข้ากับน้ำตาลจึงทำให้รสชาติเข้ากันได้อย่างดี แต่กล้วยบางส่วนอาจจะแตกหักบ้างเพราะสไลด์แผ่นเล็กเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ปัญหามากนักเพราะสามารถแก้ไข เพราะว่าคนเราจะทำอะไรให้ดีได้สมบูรณ์ทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ เพราะฉะนี้จึงต้องเรียนรู้การสไลด์กล้วย โดยค่อย ๆใช้ให้ถนันมือ
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
ชื่อพฤษศาสตร์    Musa L. ( กล้วยประเภทรับประทาน )
วงศ์                        MUSACEAE
ชื่อพื้นเมือง           อังกฤษเรียก บานาน่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียเรียก ปิซัง ( Pisang ) ฟิลิปปินส์เรียก
ซาจิง ( Saging ) พม่าเรียก เง็กเปาตี ( Nget pyo thee ) เขมรเรียก ซิกนัมวา ( Cheek nam'vaa )
แหล่งกำเนิดและการกระจาย           กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ 
                ในเอกสารโบราณกล่าวว่า  กล้วยเป็นผลไม้ของชาวอินเดีย  พบมีอยู่มากในแถบเอเชียตอนใต้  โดยเฉพาะทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย  พม่า  เขมร  จีนตอนใต้  หมู่เกาะอินโดนีเซีย  เกาะบอร์เนียว  ฟิลิปปินส์  และไต้หวัน กล้วยในประเทศที่กล่าวถึงนั้น  เป็นกล้วยป่าที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ  ซึ่งต่อมาเมื่อมนุษย์สังเกตเห็นว่าสัตว์ต่างๆ  กินกล้วยเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงลองกินกล้วยดู  และเมื่อเห็นว่ากล้วยกินเป็นอาหารได้  มนุษย์จึงเริ่มรู้จักวิธีการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด  หน่อ  ติดตัวไปยังสถานที่ที่อพยพไป  ทำให้กล้วยแพร่หลายไปยังถิ่นต่างๆ  มากยิ่งขึ้น  จนมีผู้กล่าวว่า  กล้วยเป็นอาหารชนิดแรกของมนุษย์  และเป็นพืชชนิดแรกที่มีการปลูกเลี้ยงไว้ตามบ้าน ในพระพุทธศาสนา  มีการวาดภาพต้นกล้วยในงานจิตรกรรม  ในภาพวาดเป็นการนำกล้วยไปสักการะพระเจ้ากาละ จีนโบราณมีการบันทึกไว้ว่า  มีกล้วยอยู่  12  ชนิด  ได้แก่  ปารู  กัน-เชียว  ยาเชียว  ปาเชียว  นันเชียว  เทียนเชียว  ชีเชียว  ชุงเชียว  เมเจนเชียว  โปโชวเชียว  ยังเชียวเชียว  ยูฟูเชียว  กล้วยเหล่านี้ปลูกมากที่กวางตุ้ง  ฟูเกียง  ฯลฯ กล้วยมีเส้นทางการเผยแพร่ราวกับนิยาย  เมื่อประมาณ  ปี  ค.ศ.200  บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนยังไม่มีการปลูกกล้วย  จนถึง  ค.ศ.650  เมื่อชาวอาหรับเดินทางติดต่อค้าขายกับแอฟริกา  พวกอาหรับได้นำกล้วยมาเผยแพร่ที่แอฟริกาด้วย 
ในราวศตวรรษที่  15  เมื่อชาวยุโรปเดินทางไปยังดินแดนต่างๆ  เพื่อ  การสำรวจและแสวงหาดินแดนใหม่    เวลานั้นปรากฏว่า  แถบชายฝั่งของแอฟริกาตะวันตก  ประชาชนนิยมปลูกกล้วยกันอย่างแพร่หลาย 
การเดินทางของกล้วยมิได้หยุดอยู่แค่นั้น  เพราะในปี  ค.ศ. 1400  ชาวโปรตุเกสซึ่งเป็นนักเดินเรือผู้เก่งกล้าสามารถได้นำกล้วยไปยังหมู่เกาะคานารีด้วย ปัจจุบันหมู่เกาะคานารีเป็นแหล่งปลูกกล้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก  หมู่เกาะนี้ในเวลาต่อมาได้รับการยกย่องว่าเป็นเกาะประวัติศาสตร์ของการแพร่พันธุ์กล้วยสู่โลกใหม่
20
 
สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง () และกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ส่วนในอินเดียได้รู้จักกล้วยกันมานานกว่าสามพันปีมาแล้ว โดยมีข้อความปรากฏตอนหนึ่งในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า เมื่อนางเกาสุริยาได้ฟังว่า พระรามมิได้มีการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แล้ว พระนางถึงกับล้มราวกับต้นกล้วยถูกฟันด้วยคมมีด ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์
กล้วยเป็นพืชเก่าแก่ที่อยู่คู่กับคนไทยมานานแสนนาน  และโดยทางประวัติศาสตร์แล้ว  ประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  ซึ่งถือว่าเป็นถิ่นกำเนิดสำคัญของกล้วยป่าขึ้นชุกชุม กล้วยที่ถือว่าเป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เป็นกล้วยที่ขึ้นอยู่ในบริเวณภาคใต้ของไทย  ได้แก่  กล้วยไข่ทองร่วง  กล้วยเล็บมือนาง  เป็นต้น ประเทศไทยมีกล้วยหลากหลายพันธุ์  และสันนิฐานกันว่า  คนไทยเป็นชนชาติที่อพยพมาจากจีนตอนใต้  ซึ่งจีนตอนใต้นี้มีอาณาเขตอยู่ทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย   ดังนั้นการอพยพของคนไทยจึงเป็นไปได้ว่าได้นำพันธุ์กล้วยที่เป็นสายพันธุ์จากอินเดียและจีนนำติดตัวมาด้วย  ทั้งนั้นเพราะกล้วยเป็นพืชที่ปลูกง่ายให้ผลเร็ว  เหมาะสำหรับนำติดตัวปลูกไว้เป็นอาหารยามขาดแคลน 
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้เคยมีการสำรวจสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทย  พบว่ามีสายพันธุ์กล้วยในประเทศไทยมากถึง 323  สายพันธุ์
21
 
ลักษณะทางพฤษศาสตร์    ลักษณะ กล้วยเป็นพรรณไม้ล้มลุก มีลำต้นเทียมสูงประมาณ 2-9 เมตร มีลำต้นสั้นๆ อยู่ใต้ดิน (ที่เรียกว่า หัว ” ) พร้อมด้วยตาหลายตาเป็นตำแหน่งที่เกิดเหล้าที่เจริญเป็นหน่อ รากแผ่กระจายไปตามแนวราบ แต่ส่วนมากรากจะอยู่ที่ผิวดิน หน่อมีรูปทรงกระบอก ลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบที่ทับสลับกันจนแน่นกอดกันเป็นก้อนกลม

กลอนกล้วยจ๋า     เรื่องกล้วย กล้วย
                                อยู่คนเดียว ทำอาหาร...เวลามี
                หยิบน้ำตาลสตรอเบอรี่สีสวยใส
                มาผสมน้ำเปล่าเข้าเตาไฟ
                เดือดแล้วใส่กล้วยน้ำว้าผ่าหกตอน
                                กวนจนน้ำตาลสีชมพูพรูเข้าเนื้อ
                กล้วยเชื่อมสวยเหลือเชื่อนำมาสอน
                กินไม่ทันอย่าทิ้ง...เชื่อมนะอร
                เก็บตู้เย็นเถิดงามงอนขนมไทย                       
                                กล้วยมีมากหากเหลือเชื่อฉันเถิด
                กวนก็ได้อร่อยเลิศเกินขานไข
                ยีให้น่วมลงกระทะกวนเรื่อยไป
                น้ำตาลทรายหกช้อนใส่เป็นกล้วยกวน
                                อยู่คนเดียวเวลาเหลือไม่เบื่อเลย
                ดีกว่านั่งเฉยเฉยละห้อยหวน
                กล้วยน้ำว้าสดกินดีที่ทบทวน
                เหลือแล้วควรกวนเชื่อมหวานกินนานเทอญ


22
 
ประโยชน์กล้วยแต่ลำต้นจนถึงปลี
กล้วยดิบมีคุณแจ้งทำแกงคั่ว
กาบกล้วยทำเชือกใช้อยู่ใกล้ตัว
ต้นสับรัวต้มเลี้ยงหมูแต่บุราณ
ใบกล้วยใช้ห่อ รม ทั้งต้ม ปิ้ง
ผลกล้วยยิ่งคุณค่ามหาศาล
ต่างข้าว ยา ขนม มานมนาน
ปลีแนม ยำ มากขนานเกินขานจำ

คุณค่าทางโภชนาการของกล้วย
การใช้ประโยชน์ในการบริโภค 
          กล้วยเป็นผลไม้ที่มีเปลือกหุ้มเช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ แต่วิธีการปอกเปลือกกล้วยนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือ เพียงใช้มือเด็ดปลายหรือจุก ก็สามารถปอกเปลือกได้ด้วยมือและรับประทานได้ทันที จึงเป็นผลไม้ที่รับประทานง่าย ดังคำโบราณว่า ง่ายเหมือนปอกกล้วยเข้าปาก นอกจากปอกเปลือกง่ายแล้ว กล้วยสุกเมื่อรับประทานแล้ว ก็จะลื่นลงกระเพาะได้ง่าย และย่อยง่าย ด้วยเหตุที่กล้วยลื่นลงกระเพาะได้ง่าย ทำให้บางคนไม่ค่อยเคี้ยวกล้วยซึ่งเป็นวิธีการที่ผิด การรับประทานกล้วยจำเป็นต้องเคี้ยวให้ละเอียด เพราะกล้วยมีแป้งร้อยละ  ๒๐ - ๒๕  ของเนื้อกล้วย  ถ้าเคี้ยวไม่ละเอียด น้ำย่อยในกระเพาะต้องทำงานหนัก  หากย่อยไม่ทันกล้วยจะอืดในกระเพาะ  อย่างไรก็ตามกระเพาะของคนใช้เวลาในการย่อยกล้วยสั้นกว่าการย่อยส้ม นม กะหล่ำปลี  หรือแอปเปิล  ดังนั้นคนไทยจึงนิยมใช้กล้วยที่ขูดเอาแต่เนื้อ ไม่เอาไส้ บดละเอียดให้ทารกรับประทาน นอกจากทารกแล้ว  คนชราก็รับประทานกล้วยได้ดีเช่นกัน ในกรณีคนหนุ่มสาว กล้วยเหมาะสำหรับคนที่ต้องการลดความอ้วน เนื่องจากกล้วยมีคุณค่าทางอาหารสูงพอๆ กับมันฝรั่ง แต่มีปริมาณไขมัน คอเลสเตอรอล และเกลือแร่ต่ำ กล้วยมีโซเดียมเพียงเล็กน้อยแต่มีโพแทสเซียมสูง การมีโพแทสเซียมสูงนี้จะช่วยลดความดันโลหิตลงได้ ในประเทศอินเดียมีความเชื่อว่า หากรับประทานกล้วย  ผลต่อวัน จะสามารถลดความดันโลหิตได้ถึงร้อยละ ๑๐ ภายในระยะเวลา ๑ สัปดาห์
         กล้วยยังเป็นผลไม้ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร และท้องเสียบ่อย เพราะสามารถช่วยลดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ กล้วยเมื่อยังดิบจะมีแป้งมาก  แต่เมื่อสุกแป้งจะเปลี่ยนเป็นน้ำตาล ดังนั้นหากท้องเดิน การกินกล้วยดิบจะช่วยทำให้อาการท้องเดินหยุดได้ และเมื่อเป็นโรคกระเพาะ ให้กินกล้วยที่สุกแล้ว สำหรับกล้วยที่ทำให้สุกด้วยความร้อน วิตามินจะลดลง
คุณค่าทางอาหารของผลกล้วยสุก หนัก ๑๐๐ กรัม
น้ำ
๗๕.๗
กรัม
พลังงาน
๘๕
แคลอรี
โปรตีน
๑.๑
กรัม
ไขมัน
๐.๒
กรัม
คาร์โบไฮเดรต
๒๒.๒
กรัม
เถ้า
๐.๘
กรัม
แคลเซียม
๘.๐
มิลลิกรัม
เหล็ก
๐.๗
มิลลิกรัม
โพแทสเซียม
๓๗๐
มิลลิกรัม
แมกนีเซียม
๓๓
มิลลิกรัม
วิตามินเอ
๑๙๐
IU
ไทอะมีน (Thaiamine)
๐.๐๕
มิลลิกรัม
ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)
๐.๐๖
มิลลิกรัม
ไนอะซิน (Niacin)
๐.๗
มิลลิกรัม
วิตามินซี
๑๐.๐
มิลลิกรัม

23
 

24
 
การแปรรูปกล้วย
เทคโนโลยีการแปรรูปกล้วยทั้งด้านอาหาร/ไม่ใช่อาหาร อาจสรุปได้ ดังนี้
การทอด เป็นการใช้เทคโนโลยีการระเหยนํ้าออก โดยการทอดในน้ำมันที่ร้อนอุณหภูมิที่ใช้ 160-180 ํ หากเป็นกล้วยดิบมีส่วนประกอบเป็นแป้ง การทอดทำ ให้แห้งและกรอบ เช่น กล้วยฉาบ หากเป็นชิ้นหนา จะกรอบนอกนุ่มใน เช่น กล้วยทอด
วิธีทำกล้วยฉาบ
วิธีทำ 
1)            เลือกกล้วยที่แก่จัด  ตัดจากต้น  ถ้าซื้อต้องไม่ผ่านการบ่มแก๊ส  
2)            เตรียมน้ำใส่กะละมังใหญ่  ใส่เกลือกันกล้วยดำ  ใส่มะนาวหรือมะกรูดอันนี้กันมือเราดำ
3)            ปอกกล้วยแช่น้ำ ยกขึ้นให้สะเด็ดน้ำแล้ว
4)            ตั้งกะทะน้ำมันไฟกลาง  ให้ร้อน
5)            ใช้ที่ปอกแตง ทำอย่างรวดเร็ว ให้กล้วยเต็มกะทะพอดี  ถ้าช้ากล้วยจะสุกไม่เสมอ   ถ้าน้ำมันไม่เดือดกล้วยจะอมน้ำมัน  ถ้าใส่กล้วยมากจนคับกะทะ กล้วยจะติดกันคนยาก(ในรูปเป็นกล้วยหอม  กล้วยหอมทำตามขวาง  น้ำว้าทำตามยาว)
6)            เตรียมตักขึ้น  สะเด็ดน้ำมัน
7)            พักในหม้อให้เย็น  ตอนนี้จะกรอบ  ข้อระวัง  ถ้ายังไม่ฉาบทันที  ต้องเอาใส่ ถุงร้อน  2 ชั้น  มัดยางให้แน่นทั้ง 2 ชั้น













25
 
 วิธีการคิดต้นทุน ราคาขาย กำไร ขาดทุน                                                    
     ต้นทุนทั้งหมดในการทำโครงงานนี้
1.             กล้วย 10 หวี                                                         250         บาท
2.             เนยสด                                                                   160         บาท
3.             น้ำตาล                                                                   250         บาท
4.             กลิ่นวานิลลา                                                          10         บาท
5.             ปูนแดง                                                                   10         บาท
6.             บรรจุภัณฑ์                                                            200         บาท

รวม ต้นทุน เท่ากับ                                             880         บาท
ผลิตได้จำนวน 120 ถุง ต้นทุนเฉลี่ยต่อถุง     = 880/120 = 7.33 บาท
   จำหน่ายในราคา ถุง ละ 10 บาทรวม 120 ถุง                            เป็นเงิน 1,200     บาท
                กำไร                                                                                                       320    บาท
กำไรคิดเป็นร้อยละ ของต้นทุน 26.67














บทที่ 5
สรุปผลการศึกษา

จากการศึกษาผู้จัดทำได้ทำการฉาบกล้วยกับน้ำตาล เกลือ เนย ที่มีรสชาติกลมกล่อม ซึ่งครั้งนี้ผู้จัดทำได้สามารถนำไปบรรจุภัณฑ์และนำจำหน่ายเป็นรายได้เสริมอีกด้วย กล้วยซึ่งเป็นอาหารจำพวกแป้งที่ให้พลังงานเช่นเดียวกับข้าว และ น้ำตาล

 ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
1. ได้ศึกษาเรื่องอาหารจากกล้วย
2. ได้ศึกษาเกี่ยวกับกล้วย ( พืชท้องถิ่น )
3. ได้ผลิตภัณฑ์อาหารจากกล้วย
4. ได้นำความรู้จากการศึกษาไปพัฒนาเพื่อเป็นอาชีพในอนาคตได้
5. ได้สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. ได้สร้างทัศนคติที่ดีต่อการงานอาชีพและเทคโนโลยี
7. พัฒนาต่อยอดเป็นอาชีพได้
8. นำพืชในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ข้อเสนอแนะ
1. สามารถนำมาปรับปรุงเป็นกล้วยรสชาติอื่นๆได้
2. สามารถนำกล้วยไปแปรรูปอาหาร เป็นอย่างอื่นได้อีก





บรรณานุกรม
http://www.scribd.com/doc/26186419
http://klirung01.wordpress.com/2012/12/07
http://poompanya.noads.biz/banana/banana.html
http://www.gotoknow.org/posts/176385
http://203.172.165.70/student/m62549/marinee/p1.html
http://bio-4-you.blogspot.com/2010/03/biomes.html
http://www.nanagarden.com
http://cacoca.wordpress.com/2008/05/22
http://www.thaipoem.com
http://guru.sanook.com/encyclopedia
http://bdbanana.wordpress.com/2012/01/29
http://guru.sanook.com/encyclopedia
http://www.oknation.net/blog/horti-asia/2013/01/02/entry-2

















ภาคผนวก

1.             เดินทางไปหากล้วยน้ำหว้าตามท้องถิ่น
   และขอซื้อกล้วยจากเจ้าของไร่



1743263_779514005410962_1444496954_n.jpg




2.             ทำการตัดเครือกล้วยออกจากต้นกล้วย


Capture.PNG

3.             ทำการแบ่งกล้วยเป็นหวี
1545716_625425344173485_1831214016_n.jpg

                                               
4.             ตัดกล้วยให้เป็นลูก และทำการปลอกเปือก

1795616_625425460840140_260982869_n.jpg


5.             นำกล้วยที่ปลอกเปือกแล้วมาแช่ในน้ำปูนใส


1782059_625425320840154_1351170988_n.jpg


6.             ทำการสไลด์กล้วย



1653359_625425300840156_188167579_n.jpg



                                                                               
1.                นำกล้วยที่สไลด์เสร็จมามาใส่จาน




1310461620.jpg







2.             ตั้งกะทะรอจนกะทะร้อน แล้วใส่น้ำมันลงไป    แล้วรอรอให้น้ำมันร้อนอีกที

1780824_625425430840143_779666472_n.jpg


                                                                9. นำกล้วยที่สไลด์แล้วลงไปทอดในน้ำมัน


1604617_625425444173475_1847644662_n.jpg



                                                                                10. รอจนกล้วยเหลือง




1604640_625425377506815_2129368176_n.jpg


                                                                                                                        11. ตักใส่ตะแกรงเพื่อให้กล้วยเสด็จน้ำมัน
                                                                                                                                               




1798499_625425610840125_1563444343_n.jpg


12. ขั้นฉาบ  ใส่น้ำ  น้ำตาลทราย(ดูปริมาณกล้วย)+เนยเค็ม (เต็มช้อนซ่อม)+เกลือ(ครึ่งช้อนชา)  ตั้งให้เดือด  คนได้ที่เป็นน้ำเชื่อม    ก็ใส่กล้วย  คลุกเบาๆ  ให้เข้ากัน




1780771_625425810840105_756115765_n.jpg

                                                                                                                        13. ตักขึ้น  กระจายในถาดให้ทั่ว แล้วรอจนน้ำตาลแห้ง



1517646_625425780840108_1882119706_n.jpg


                                                                                                                14. บรรจุใส่ถุง